หน่วยบริการจัดการทุนภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจเอกชน ดูทั้งหมด

หน่วยบริการจัดการทุนภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจเอกชน

หน่วยบริการจัดการทุนภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจเอกชน

  • งานบริหารจัดการทุนภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

National Innovation Agency (NIA)

  • หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข)
  • งานบริหารจัดการความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน
  • งานบริหารจัดการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (CoE)
  • งานบริหารจัดการ Talent Mobility/ Pre-Talent Mobility โดยสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • โครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) มีแนวทางดำเนินงาน 3 Track

 

Track 1 การเคลื่อนย้ายบุคลากรด้านการวิจัยเพื่อติดตั้งเทคโนโลยีในสถานประกอบการ (Talent Mobility for SME’s Technology Installation) (ยังไม่เปิดรับสมัคร)

ขอบเขตการสนับสนุน
1) การติดตั้งเทคโนโลยีโดย อาจารย์/นักวิจัย และนักศึกษาในสถานประกอบการ
2) การติดตามผลและประเมินประสิทธิภาพการติดตั้งเทคโนโลยี
3) ทดสอบการใช้งานจริงหลังติดตั้งเทคโนโลยี


คุณสมบัติของสถานประกอบการ
กลุ่มที่ 1
 สถานประกอบการที่มีสัญญาขออนุญาตใช้สิทธิ กำลังจะเริ่มดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีในสถานประกอบการ
กลุ่มที่ 2 สถานประกอบการที่มีสัญญาขออนุญาตใช้สิทธิและอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีในสถานประกอบการ
กลุ่มที่ 3 สถานประกอบการที่มีสัญญาขออนุญาตใช้สิทธิและต้องการเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีที่เคยติดตั้ง

หมายเหตุ: ระยะเวลานับจากเซ็นสัญญาไม่เกิน 2 ปี

 

Track 2.1 การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างกลยุทธ์และแผนปฏิบัติด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับสถานประกอบการ (Developing Experts in R&D Strategy and Plan Formulation for SMEs) ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว

Track 2.2 การสร้างกลยุทธ์และแผนปฏิบัติด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับสถานประกอบการ (Formulating R&D Strategy and Plan for SMEs) เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ขอบเขตการสนับสนุน
1) สนับสนุนการสร้างกลยุทธ์และแผนปฏิบัติด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D Strategy and Plan) ให้แก่สถานประกอบการโดย Experts ที่ผ่านการอบรมและผ่านเกณฑ์
2) ลงสถานประกอบการ 10 Man-Days
3) สร้างกลยุทธ์และแผนปฏิบัติด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ สถานประกอบการ

 

คุณสมบัติของสถานประกอบการ
1) มีศักยภาพและวิสัยทัศน์ในการสร้าง R&D ภายในสถานประกอบการ
2) ต้องการแผนวิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนองค์กร
3) มีสถานที่ผลิตเป็นของตัวเอง
4) บุคลากรมีศักยภาพและความพร้อมเข้าร่วมการสร้าง R&D Strategy and Plan

 

Track 3 กระตุ้นกิจกรรมตามกลยุทธ์และแผนปฏิบัติด้านการวิจัยและพัฒนาของสถานประกอบการ (Talent Mobility for R&D Activation under SME’s R&D Strategy and Plan) (ยังไม่เปิดรับสมัคร)

ขอบเขตการสนับสนุน
1) การพัฒนากระบวนการวิจัยและพัฒนา
2) การพัฒนาจัดตั้งระบบห้องปฏิบัติการ
3) การพัฒนาเทคโนโลยีเชิงระบบ
4) การพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับระบบวิจัยและพัฒนา

 

คุณสมบัติของสถานประกอบการ 

สถานประกอบการที่มีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติด้านการวิจัยและพัฒนา ครอบคลุมในด้าน 

1) ธุรกิจและการตลาด (Market & Business) 

2) เทคโนโลยีในระบบ (Process and Technology) 

3) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D in Product) 

4) แผนด้านการพัฒนาบุคลากร (Human Resource)

 

  • การสนับสนุนการสร้างศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาในการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม

ผ่านกลไก Pre-Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2566

            อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้ยืนข้อเสนอโครงการและผ่านการพิจารณาได้รับทุนโครงการการสร้างศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาในการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมผ่านกลไก Pre-Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 8 โครงการ ได้รับงบประมาณสนับสนุน 30,000 บาท/โครงการ

 

Address
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
อาคารบูรณมงคล (อาคาร 32) ชั้น 8
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย
(กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
035-709-097 หรือ 097-270-8866

ช่องทางการติดต่อ
rdi@rmutsb.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทรส.
rdi.rmutsb
LINE ID : @404unano

ติดตามข่าวสาร

Copyright ©2024 ELC สถาบันวิจัยและพัฒนา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ